มาใส่รองเท้าในบ้านกันเถอะ
โดยทั่วไปเวลาเราออกไปนอกบ้านเราจะใส่รองเท้า พอกลับเข้าบ้านเรามักจะถอดรองเท้าออกและเดินเท้าเปล่าเเละเมื่อเราเดินเท้าเปล่าในบ้าน
- เท้าของเราจะสัมผัสพื้นแข็งตลอดเวลา บางบ้านเป็นพื้นปูน กระเบื้อง ไม้ หรืออื่นๆ
- เท้าเรารับน้ำหนักและแรงกระแทกโดยตรง เมื่อมีการเดิน ยืน ลงน้ำหนักนานๆ ทำให้เกิดแรงสะท้อนมายัง ส้นเท้า ฝ่าเท้า ข้อเท้า และข้อเข่าตามมาได้
- หากเราเดินเท้าเปล่า ไปสะดุดหรือไปเตะสิ่งของภายในบ้าน จะไม่มีตัวปกป้องเท้า อาจจะทำให้เท้าบาดเจ็บได้โดยตรง
ใครบ้างที่ควรใส่รองเท้าในบ้าน
- แม่บ้าน ผู้ที่ต้องยืน เดิน ทำงานบ้าน ทั้งวัน
- ผู้ที่มีปัญหา รองช้ำ ปวดส้นเท้า ปวดเท้า ปวดเข่า
- ผู้ที่ออกกำลังกายในบ้าน
- ผู้สูงอายุ
แล้วเราควรเลือกรองเท้าที่ใส่ในบ้านอย่างไร ทีเเอนด์เอสกายภาพบำบัดมีคำเเนะนำดังนี้ค่ะ
- พื้นเป็นส่วนสำคัญที่รองรับการกดน้ำหนักและแรงกระแทก พื้นรองเท้าควรมีความหนาประมาน 1 นิ้ว ทำมาจากยาง หรือวัสดุเนื้อแน่น และพื้นควรมีดอกยางกันลื่น
- วัสดุที่ใช้ควรระบายอากาศได้ดี มีความยืดหยุ่น
- ใส่แล้วกระชับเท้า สบาย รองรับอุ้งเท้าพอดี(กับลักษณะเท้าเเต่ละบุคคล)
- ผู้สูงอายุ อาจเลือกแบบมีสายรัดส้นที่ไม่แน่นเกินไป เพื่อความกระชับและป้องการเลื่อนหลุดและลดปัญหาการสะดุดรองเท้าตัวเอง
- หากมีการออกกำลังกายในบ้านด้วย แนะนำให้ใส่รองเท้ากีฬา โดยเฉพาะเมื่อมีการกระโดด วิ่ง เต้นแอโรบิค เป็นต้น
สำหรับผู้ที่มีปัญหารองช้ำหรือเจ็บส้นเท้าอยู่แล้ว ควรใส่รองเท้าในบ้านเพื่อช่วยลดการอักเสบซ้ำๆ ที่จากการกดน้ำหนักและการกระแทกบริเวณส้นเท้า นอกจากนี้แนะนำให้ใช้ เจลเย็น(cold pack)ประคบ ครั้งละ 10-15 นาที หรือถูด้วยน้ำเเข็ง( ice massage) ครั้งละ 3-5 นาที บริเวณที่ปวด เพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดด้วยค่ะ
หากยังไม่ดีขึ้น ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะการปวดส้นเท้าจนไม่สามารถลงน้ำหนักได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดรูปแแบบการเดินที่ผิดปกติ เเละอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อข้อต่ออื่นๆตามมาได้เช่น เดินกระเผลก ไม่ยอมลงน้ำหนักเท้าข้างที่เจ็บ จนไปใช้งานขาอีกข้างมากไป หรือเจ็บเข่า สะโพกข้างเดียวกับที่เจ็บรองช้ำเป็นต้น
รองช้ำ เจ็บส้นเท้า เจ็บเท้า รักษาได้
- ช่วงนี้ใกล้ช่วงเทศกาลหยุดยาว หลายคนออกเดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือเดินทางกลับบ้าน จำเป็นต้องนั่งรถนานๆ ปัญหาที่พบบ่อยคือ นั่งรถนาน แล้วปวดเมื่อยหลังไปหมด ปวดเข่า ขาตึง ลงรถ...
- เมื่อไหร่ใช้ร้อน เมื่อไหร่ใช้เย็น เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตที่มักจะมีผู้เข้าใจผิดอยู่เสมอค่ะ โดยผลของอุณหภูมิทั้งสองมีผลต่อเนื้อเยื่อแตกต่างกัน ดังนั้นการใช้อุณหภูมิผิดในการรักษาตนเอ...
- เมื่อนักกายภาพฯต้องถูกผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออาจารย์วิยะดา ศักดิ์ศรี นักกายภาพบำบัดที่เคยแต่เป็นผู้ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวข้อเข่าหลังผ่าตัดให้กับคนอื่นมาทั้งชีวิตกลั...
- จากตอนที่แล้วทีแอนด์เอสได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่าจะมาแชร์ประสบการณ์การฟื้นฟูเข่าหลังผ่าตัดในช่วง 2 สัปดาห์แรกกัน ในครั้งนี้เราจะมาดูกันว่าสำหรับผู้ที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าแล้ว ใน 2 ...
- หลังจากตอนที่เเล้วได้พูดถึงประสบการณ์หลังออกจากห้องผ่าตัด โปรเเกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังจากผ่าตัดใน 2 สัปดาห์เเรก รวมถึงคำเเนะนำเเละท่าบริหารต่างๆไปเเล้ว ตอนที่3 นี้ จะพูดถึงการตั้...
- โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังผ่าตัดเมื่อผ่านไป 1 เดือน หลังจากออกกำลังกายไปได้ 2 สัปดาห์ ดิฉันจัดโปรแกรมการออกกำลังใหม่ ซึ่งตอนนี้ดิฉันสามารถเดินได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยใดๆ ได้ร...