หากต้องนั่งรถนานหรือเดินทางไกล ควรทำอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง ปวดคอ ปวดเข่า

     ช่วงนี้ใกล้ช่วงเทศกาลหยุดยาว หลายคนออกเดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือเดินทางกลับบ้าน จำเป็นต้องนั่งรถนานๆ ปัญหาที่พบบ่อยคือ นั่งรถนาน แล้วปวดเมื่อยหลังไปหมด ปวดเข่า ขาตึง ลงรถแล้วยืดตัวลำบาก โอย โอย

 

 

     โดยเฉพาะคนที่มีอาการปวดอยู่ก่อนแล้ว บางคนถึงกับไม่อยากเดินทางไปไหนเลย

     จะดีกว่ามั้ย ถ้าเราได้ท่องเที่ยว เดินทางถึงจุดหมาย โดยไม่มีอาการปวด ส่วนจะมีวิธีการอะไรที่จะช่วยได้บ้าง

ทีแอนด์เอสกายภาพบำบัด มีคำแนะนำดังนี้ค่ะ

     1. จัดท่านั่งในรถให้ดี ปรับเบาะ หาอุปกรณ์รองรับหลังให้พอดี ปรับระยะช่องที่วางเท้าให้พอมีที่ว่าง ไม่ติดเบาะหน้าเกินไป

  • ผู้ที่มีปัญหาหลัง แนะนำให้นั่งที่นั่งด้านหน้า หรือที่นั่งที่ปรับเบาะได้
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องเข่า หากเลือกได้ให้เลือกนั่งใกล้ประตู หรือริมทางเดินจะได้เข้าออกรถสะดวก และเลือกนั่งที่นั่งที่มีที่ว่างด้านหน้าเพียงพอพอให้ขยับขาได้

     2. ขณะเดินทางไกล ให้มีการจอดพัก ลงจากรถ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นระยะ เช่นทุก 1-2 ชั่วโมง

     3. ทำท่าบริหารเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และขยับเคลื่อนไหวข้อต่อต่างๆ เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดค่ะ

ซึ่งท่าบริหารเบื้องต้นมีดังนี้ค่ะ

     1. ยืนแอ่นหลัง เพื่อขยับข้อต่อกระดูกสันหลังบริเวณเอว

 

     2. ยืดกล้ามเนื้อหน้าอกและแขน เพื่อลดความตึงของบ่า ไหล่ หน้าอก และแขน

 

     3. บริหารกล้ามเนื้อสะบักและไหล่

 

     4. บริหารกล้ามเนื้อคอ และขยับข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ

 

     5. งอเหยียดเข่า เป็นการเคลื่อนไหวข้อเข่า เพื่อบรรเทาการขาตึง เข่าตึง ปวดเข่า

 

     6. กระดกข้อเท้าขึ้นลง เพื่อบริหารข้อเท้า กล้ามเนื้อน่อง และลดอาการเท้าบวม

 

โดยท่าบริหารดังกล่าวเป็นเพียงท่าบริหารเบื้องต้น เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดเท่านั้น

หากทำแล้วอาการแย่ลง ควรหยุดทำทันที !!!

     และหากท่านกลับมาจากท่องเที่ยวแล้ว ยังมีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดเข่า หรือข้อต่ออื่นๆ สามารถติดต่อทีแอนด์เอส เพื่อนัดทำการรักษาได้ทางช่องทางติดต่อที่ให้ไว้ได้เลยค่ะ

     ขอให้ทุกท่านเดินทางปลอดภัย อย่าลืมเว้นระยะห่าง ใส่แมส ล้างมือบ่อยๆด้วยนะคะ


  • โดยทั่วไปเวลาเราออกไปนอกบ้านเราจะใส่รองเท้า พอกลับเข้าบ้านเรามักจะถอดรองเท้าออกและเดินเท้าเปล่าเเละเมื่อเราเดินเท้าเปล่าในบ้าน - เท้าของเราจะสัมผัสพื้นแข็งตลอดเวลา บางบ้านเป็นพื...

  • เมื่อไหร่ใช้ร้อน เมื่อไหร่ใช้เย็น เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตที่มักจะมีผู้เข้าใจผิดอยู่เสมอค่ะ โดยผลของอุณหภูมิทั้งสองมีผลต่อเนื้อเยื่อแตกต่างกัน ดังนั้นการใช้อุณหภูมิผิดในการรักษาตนเอ...

  • เมื่อนักกายภาพฯต้องถูกผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออาจารย์วิยะดา ศักดิ์ศรี นักกายภาพบำบัดที่เคยแต่เป็นผู้ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวข้อเข่าหลังผ่าตัดให้กับคนอื่นมาทั้งชีวิตกลั...

  • จากตอนที่แล้วทีแอนด์เอสได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่าจะมาแชร์ประสบการณ์การฟื้นฟูเข่าหลังผ่าตัดในช่วง 2 สัปดาห์แรกกัน ในครั้งนี้เราจะมาดูกันว่าสำหรับผู้ที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าแล้ว ใน 2 ...

  • หลังจากตอนที่เเล้วได้พูดถึงประสบการณ์หลังออกจากห้องผ่าตัด โปรเเกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังจากผ่าตัดใน 2 สัปดาห์เเรก รวมถึงคำเเนะนำเเละท่าบริหารต่างๆไปเเล้ว ตอนที่3 นี้ จะพูดถึงการตั้...

  • โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังผ่าตัดเมื่อผ่านไป 1 เดือน หลังจากออกกำลังกายไปได้ 2 สัปดาห์ ดิฉันจัดโปรแกรมการออกกำลังใหม่ ซึ่งตอนนี้ดิฉันสามารถเดินได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยใดๆ ได้ร...
Visitors: 595,520