ปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสทำให้เป็นโรคอัมพาตครึ่งซีกมีอะไรบ้าง

  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติของแต่ละบุคคลอาจใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไป เช่นบางคนอา จเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย หรือบางรายอาจต้องควบคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการใช้ยา ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องลดการกินอาหารรสเค็มและควรทานผักผลไม้มากขึ้น รวมไปถึงการหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การสูบบุหรี่มีโอกาสทำให้เกิดภาวะไขมันเกาะที่เส้นเลือดใหญ่บริเวณลำคอ ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองโดยตรงนิโคตินยังทำให้ความดันโลหิตสูง และคาร์บอนมอนน็อกไซด์จะไปลดปริมาณออกซิเจนในเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง สารพิษในบุหรี่ยังมีส่วนทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว และทำให้หลอดเลือดขยายตัวได้ไม่ดี นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังทำให้เลือดข้นและแข็งตัวง่าย ทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคปอด มะเร็งและโรคหัวใจได้เช่นกัน
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากโรคเบาหวาน จะส่งผลเสียต่อหลอดเลือดทั่วร่างกายรวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองด้วยเช่นกัน หากเกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบหรืออุดตันในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาการที่แสดงออกจะมีความรุนแรงมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสามารถลดความเสี่ยงของโรคอัมพาตครึ่งซีกได้เช่นกัน
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากโรคเบาหวาน จะส่งผลเสียต่อหลอดเลือดทั่วร่างกายรวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองด้วยเช่นกัน หากเกิดภาวะเส้นเลือดสมองตีบหรืออุดตันในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาการที่แสดงออกจะมีความรุนแรงมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสามารถลดความเสี่ยงของโรคอัมพาตครึ่งซีกได้เช่นกัน

 

 นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยในเรื่องของไขมันในเลือดสูง ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกายอันเป็นปัจจัยรองที่มีโอกาสทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อโรคอัมพาตที่คุณต้องระวังด้วยเช่นกัน

 

สำหรับผู้ที่เคยมีอาการของอัมพาตชั่วคราว หรือเคยเป็นอัมพาตมาก่อนแล้วคุณยิ่งต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ค่ะเพราะอัมพาตครึ่งซีกไม่ใช่โรคที่เป็นได้เพียงครั้งเดียวและการเป็นอัมพาตซ้ำอาการที่เกิดขึ้นก็มักจะรุนแรงกว่าครั้งแรก รวมไปถึงการรักษาและการฟื้นตัวจะใช้เวลานานกว่า และผลจากการรักษาก็อาจจะไม่ดีเท่ากับการรักษาในครั้งแรก

Visitors: 605,024