เมื่อไหร่ใช้ความร้อน เมื่อไหร่ใช้เย็น?
เมื่อไหร่ใช้ร้อน เมื่อไหร่ใช้เย็น เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตที่มักจะมีผู้เข้าใจผิดอยู่เสมอค่ะ โดยผลของอุณหภูมิทั้งสองมีผลต่อเนื้อเยื่อแตกต่างกัน ดังนั้นการใช้อุณหภูมิผิดในการรักษาตนเองจึงจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี และต่อไปนี้คือคำแนะนำค่ะว่าในกรณีใดบ้างที่ควรใช้ร้อนและควรใช้เย็น
ผลของอุณหภูมิต่อเนื้อเยื่อร่างกาย
ความร้อนและความเย็นจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อร่างกายแตกต่างกัน โดยข้อแตกต่างระหว่างอุณหภูมิทั้ง 2 มีดังต่อไปนี้
1. ผลของความร้อนต่อเนื้อเยื่อร่างกาย
ความร้อนจะส่งผลต่อหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยายตัวซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้แก่บริเวณที่ได้รับความร้อน และยังช่วยให้การกำจัดของเสียในบริเวณนั้นดีขึ้น ผลอีกประการหนึ่งของความร้อน คือ ช่วยให้กล้ามเนื้อที่เกร็งตัวอยู่คลายตัวค่ะ
2. ผลของคววามเย็นต่อเนื้อเยื่อร่างกาย
ในส่วนของความเย็นจะส่งผลตรงข้ามกับความร้อน นั่นคือความเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัว ซึ่งสามารถช่วยห้ามเลือดในบริเวณที่มีเลือดออกได้ค่ะ นอกจากนั้นผลของความเย็นยังช่วยลดการอักเสบขึ้นได้เช่นกัน
1. การใช้ความเย็น
เพราะความเย็นส่งผลทำให้หลอดเลือดหดตัวและช่วยลดการอักเสบ ดังนั้นเราจึงใช้ความเย็นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายค่ะ เช่น เมื่อเกิดข้อเท้าแพลงหรือถูกกระแทก นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ความเย็นเพื่อลดอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของร่างกาย เช่น อาการปวดเข่า หรือปวดไหล่จากการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นได้เช่นกัน
2. การใช้ความร้อน
การใช้ความร้อนที่ได้ผลดีที่สุดมักใช้ในกรณีของการปวดเมื่อยร่างกายจากสาเหตุของการออกกำลังกายหรือจากการทำงานหนักค่ะ เพราะผลของความร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและช่วยระบายของเสียดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่การใช้ความร้อนหลังการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬามีข้อควรระวังก็คือ หากมีอาการบาดเจ็บและปวดเกิดขึ้นร่วมด้วยไม่ควรใช้ความร้อนโดยเด็ดขาด แต่ให้เปลี่ยนมาใช้ความเย็นแทนค่ะ
การใช้ความร้อนและการใช้ความเย็นมีผลต่อระยะเวลาในการฟื้นตัวของร่างกายค่ะ หากใช้ไม่ถูกกับสภาวะที่เกิดขึ้นก็จะส่งผลเสียทำให้การฟื้นตัวเกิดช้าลง และโอกาสหายก็จะช้าลงด้วยค่ะ
- ช่วงนี้ใกล้ช่วงเทศกาลหยุดยาว หลายคนออกเดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือเดินทางกลับบ้าน จำเป็นต้องนั่งรถนานๆ ปัญหาที่พบบ่อยคือ นั่งรถนาน แล้วปวดเมื่อยหลังไปหมด ปวดเข่า ขาตึง ลงรถ...
- โดยทั่วไปเวลาเราออกไปนอกบ้านเราจะใส่รองเท้า พอกลับเข้าบ้านเรามักจะถอดรองเท้าออกและเดินเท้าเปล่าเเละเมื่อเราเดินเท้าเปล่าในบ้าน - เท้าของเราจะสัมผัสพื้นแข็งตลอดเวลา บางบ้านเป็นพื...
- เมื่อนักกายภาพฯต้องถูกผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่ออาจารย์วิยะดา ศักดิ์ศรี นักกายภาพบำบัดที่เคยแต่เป็นผู้ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวข้อเข่าหลังผ่าตัดให้กับคนอื่นมาทั้งชีวิตกลั...
- จากตอนที่แล้วทีแอนด์เอสได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่าจะมาแชร์ประสบการณ์การฟื้นฟูเข่าหลังผ่าตัดในช่วง 2 สัปดาห์แรกกัน ในครั้งนี้เราจะมาดูกันว่าสำหรับผู้ที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าแล้ว ใน 2 ...
- หลังจากตอนที่เเล้วได้พูดถึงประสบการณ์หลังออกจากห้องผ่าตัด โปรเเกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังจากผ่าตัดใน 2 สัปดาห์เเรก รวมถึงคำเเนะนำเเละท่าบริหารต่างๆไปเเล้ว ตอนที่3 นี้ จะพูดถึงการตั้...
- โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังผ่าตัดเมื่อผ่านไป 1 เดือน หลังจากออกกำลังกายไปได้ 2 สัปดาห์ ดิฉันจัดโปรแกรมการออกกำลังใหม่ ซึ่งตอนนี้ดิฉันสามารถเดินได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยใดๆ ได้ร...